1.การเคลื่อนที่ของวอลุ่มและราคามักจะเป็นไปตามแนวโน้ม
ดังนั้นแนวโน้มขาขึ้น แรงซื้อ ต้องมากกว่าแรงขาย ดังนั้นแท่งเทียนที่ปรับตัวขึ้นบวกต้องมีวอลุ่มมากกว่าแท่งเทียนที่ปรับตัวลงส่วนแนวโน้มขาลง แรงขายต้องมากกว่าแรงซื้อ ดังนั้น แท่งเทียนสีดำ (หรือแท่งสีแดง)ที่บอกภาพลบต้องมีวอลุ่มมากกว่าแท่งเทียนที่เป็นภาพซื้อสีขาว ในตลอดแนวโน้มขาลง
หากภาพของวอลุ่มไม่สอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าวแล้ว ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังถึงการปลี่ยนแปลงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้
2.เมื่อวอลุ่มเคลื่อนที่ไม่สอดคล้องกับราคา จะบ่งบอกถึง Trend หรือแนวโน้มข้างหน้าว่ากำลังเปลี่ยนไป
เช่น
เมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นทำ New high ใหม่ในแต่ละรอบ แต่กลับมี ปริมาณการซื้อขายที่น้อยลง ก็บ่งบอกว่าแนวโน้มขาขึ้นที่เห็นนั้นลังอ่อนแรง และอาจเปลี่ยนแนวโน้มได้ในไม่ช้า (เสมือนพลุที่หมดเชื้อเพลิง)ส่วนแนวโน้มในตลาดขาลงที่มีวอลุ่ม เริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ก็จะบ่งบอกถึงแรงขายได้ใกล้หมดลงแล้ว จึงทำให้แรงซื้อจะกลับมาชนะแรงขายอีกครั้ง และตลาดจะปรับตัวเป็นขาขึ้นอีกรอบ
ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้เป็นพื้นฐานขั้นต้นที่นักลงทุนจะต้องเรียนรู้และใช้ประกอบในการตัดสินใจการลงทุนทุกครั้งโดยการวิเคราะห์โดยละเอียดและให้แม่นยำนั้น ต้องศึกษาและสังเกตุพฤติกรรมหุ้นในหลายๆรูปแบบ รวมถึงจะต้องเห็นกราฟในรูปแบบซ้ำในหุ้นหลายๆตัว เพื่อเพิ่มทักษะในการวิเคราะห์
ON BALANCE VOLUME (OBV)
ดัชนีปริมาณหุ้นสะสม (OBV) เป็นเครื่องมือที่ดูความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการซื้อขาย (VOLUME) กับการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งสามารถบอกถึงแนวโน้มของตลาดหรือหุ้นได้ โดยใช้หลักของ DEMAND-SUPPLY ที่ระบุว่า “ราคาหุ้นจะไม่ขึ้นจนกว่า DEMAND จะมากกว่า SUPPLY”
ดัชนีปริมาณหุ้นสะสม คือ การดูปริมาณหุ้นซื้อขายสะสม โดยนำเอาปริมาณซื้อขายไปบวก เมื่อราคาปิดของวันนั้นสูงกว่าราคาปิดของวันก่อน และเอาปริมาณซื้อ
ขายไปลบ เมื่อราคาปิดของวันนั้นต่ำกว่าราคาปิดของวันก่อน ถ้าปริมาณหุ้นสะสมเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นชัดเจนกว่าราคา แสดงว่ากำลังมีเงินจากผู้ลงทุนบางรายเข้ามาซื้อสะสมหุ้นมากขึ้น แต่ถ้าทั้งราคาและปริมาณสะสมวิ่งขึ้นไปด้วยกัน หมายถึงผู้ลงทุนทั่วไปเข้ามาทำการซื้อขายร่วมด้วย ส่วนถ้าราคาขึ้นก่อนปริมาณสะสม ยังไม่ถือว่าเป็นการยืนยันการขึ้นของราคาหุ้นแต่อย่างใด
กรณีราคาปิดวันนี้สูงกว่าราคาปิดวันก่อน
OBV วันนี้ = OBV สะสมจากวันก่อน + ปริมาณการซื้อขายวันนี้
กรณีราคาปิดวันนี้ต่ำกว่าราคาปิดวันก่อน
OBV วันนี้ = OBV สะสมจากวันก่อน – ปริมาณการซื้อขายวันนี้
วิธีหาค่าของ OBV สามารถทำได้ดังนี้
1. ผู้ลงทุนต้องเลือกตัวเลขปริมาณหุ้นเริ่มแรก อาจจะเป็น O หรือ 1,000 หรือ 10,000 หรือตัวเลขอื่นก็ได้
2. ถ้าราคาปิดของหุ้น ณ วันที่เริ่มคำนวณสูงกว่าราคาปิดของวันก่อน ก็ให้นำปริมาณหุ้นที่ซื้อขายกันสำหรับหุ้นในวันนั้น บวกเข้ากับตัวเลขเริ่มแรก แต่ถ้าราคาปิดของหุ้น ณ วันที่เริ่มคำนวณต่ำกว่าราคาปิดของวันก่อน ก็จะนำปริมาณหุ้นที่ซื้อขายในวันนั้นไปลบออกจากตัวเลขเริ่มแรกนั้น
3. ถ้าราคาปิดของหุ้นในวันปัจจุบันสูงขึ้นจากวันก่อน ให้นำปริมาณการซื้อขายของวันปัจจุบันมาบวกเข้ากับ ปริมาณการซื้อขายสะสมจากวันก่อน แต่ถ้าราคาปิดต่ำลง ให้นำปริมาณการซื้อขายของวันปัจจุบัน มาหักจากปริมาณการซื้อขายสะสม ถ้านำค่าปริมาณการซื้อขายสะสมไปกำหนดเป็นเส้นกราฟจะได้เส้น OBV ที่นำไปใช้วิเคราะห์แนวโน้มหรือทิศทาง (DIRECTION) ของราคาหรืออาจเขียนในรูปสูตรได้ใน 2 กรณี ดังนี้
การใช้เส้น OBV เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์แนวโน้มของราคานั้นสามารถแยกวิเคราะห์ได้ดังนี้
1. ถ้าราคาหุ้นมีราคาสูงสุดครั้งใหม่พร้อมกับ OBV ด้วย หรือราคาหุ้นลดลงเป็นราคาต่ำสุดครั้งใหม่พร้อมกับเส้น OBV จะเป็นการยืนยันการขึ้นและลงของราคาหุ้น แต่ถ้าราคามีแนวโน้มลดลงในขณะที่แนวโน้มของเส้น OBV ยังสามารถขยับสูงขึ้นเป็นค่าสูงสุดครั้งใหม่ จะเป็นการยืนยันว่าราคาจะต้องขยับสูงขึ้นอีกครั้ง
2. โดยการใช้เส้นแนวโน้ม (TRENDLINES) เป็นเส้นแนวต้าน หรือเส้นสนับสนุน เมื่อเส้น OBV ตัดผ่านเส้นแนวต้าน เป็นสัญญาณว่าแนวโน้มของราคาจะขึ้น
3. โดยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) สัญญาณซื้อเกิดขึ้นเมื่อเส้น OBV มีลักษณะอยู่ในแนวโน้มขึ้นและตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้น และสัญญาณขายเกิดขึ้นเมื่อเส้น OBV กำลังลดลงและตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ลง
การตีความหมายของเส้น OBV
บทความทาง กราฟเทคนิค การลงทุนที่คุ้มค้าคือการเรียนรู้
นักลงทุนที่ถามกูรูว่า “เล่นหุ้นตัวใหนดี” ในประวัติศาสตร์ ยังไม่เห็น เค้าร่ำรวยหรือประสบความสำเร็จ
นักลงทุนที่ถามกูรูถึง “มีวิธีการและแนวความคิด” แล้วนำไปต่อยอด ในประวัติศาสตร์ มีคนแบบนี้ ร่ำรวยและประสบความสำเร็จมากมา